พระซุ้มยอ กรุบ้านตาก ชินสนิมแดง


   จังหวัดตากเป็นจังหวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัย โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านตาก ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองตากในสมัยโบราณ บางตอนของประวัติศาสตร์ชาติไทยในหลายยุคสมัย ที่เกี่ยวข้องกับเมืองตาก ดังต่อไปนี้

ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ปี พ.ศ.1805 รัช สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชโอรส ยกทัพไปกระทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พ่อขุนรามคำแหงมหา ราชทรงมีชัยในการกระทำยุทธหัตถี จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "เจดีย์ยุทธหัตถี" บนดอยสูง ข้างวัดพระบรมธาตุ (เมืองตากเก่า ปัจจุบันคือ อำเภอบ้านตาก) เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมัย กรุง ศรีอยุธยาเป็นราชธานี รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อพม่า ณ เมืองแครง แล้วทรงยกทัพเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา ซึ่งเป็นด่านสำคัญในดินแดนเมืองตาก (อำเภอแม่สอด) จากนั้นทรงย้ายเมืองตากจากที่ตั้งเดิมลงมาทางใต้ตามลำน้ำปิงประมาณ 25 กิโลเมตร มาตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองตากในปัจจุบัน ส่วนเมืองตากเก่ายังคงมีซากเมือง วัดเก่า และพระเจดีย์ยุทธหัตถี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดฯ ให้ยกทัพไปชุมนุมไพร่พลที่เมืองตาก เพื่อเข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือที่แข็งเมือง ยังคงปรากฏหลักฐานให้เห็น ณ ปัจจุบัน คือ วัดพระนารายณ์ เชิงสะพานกิตติขจร 

ใน รัชสมัย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (สมเด็จพระนั่งสุริยาศน์อมรินทร์) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ "สิน" (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) มหาดเล็กในกรมมหาดไทยสมัยนั้น เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ขึ้นไปชำระความทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ กลับมามีความดีความชอบ จึงพระราชทานตำแหน่ง "หลวงยกกระบัตร" ขึ้นไปรับราชการที่เมืองตาก และเมื่อพระยาตากถึงแก่อนิจกรรม พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตากปกครองเมืองตากสืบต่อ และต่อมาเมื่อพระยาวชิรปราการ ผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรถึงแก่อนิจกรรม ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาตาก (สิน) ขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ ปกครองเมืองกำแพงเพชร จนถึงปี พ.ศ.2310 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่ พม่า พระยาวชิรปราการได้รวบรวมไพร่พล กอบกู้เอกราช และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี

ประวัติการขุดพบ

         พระซุ้มยอเนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุบ้านตาก ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เป็นพระพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสกุลช่างสุโขทัยแท้ พุทธลักษณะประทับนั่งปางสะดุ้งมารอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว 5 เหลี่ยมดังในรูปภาพทุกประการ อายุการสร้างไม่ต่ำกว่า 700 ปี รุ่นราวคราวเดียวกับพระสุโขทัยทุกกรุ พระซุ้มยอกรุบ้านตากนี้มีน้อยมาก มีความสวยงามเฉพาะตัว น้อยคนจะรู้จัก นักเล่นพระรุ่นใหม่ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก ขุด ค้นพบเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2513 เป็น เดือนที่มีฝนตกชุกมาก และก็เป็นปีที่มีนักลักลองขุดค้นหาทรัพย์ในแผ่นดินกันทั่วสารทิศ ไม่เฉพาะที่จังหวัดตากเท่านั้น สำหรับผู้ขุดพระกรุนี้มีกำลังพล 15 คนประกอบด้วย ทิม, เตา, สนอง, มูล,ใส, ตี๋, ชู, สมจิต, เล็ก, ชวลิต ทัน, ผิน, มานะ, สม, ลอม ทั้ง 15 คน ดังกล่าวนามมานี้เป็นนักขุดที่บริเวณกรุบ้านตากทั้งหมดพบพระเครื่องพระบูชา และแจกันจีน พระเนื้อดิน พระเนื้อชินเงิน และพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง จำนวนมากมายมหาศาล มีทั้งพระท่ามะปรางค์เนื้อดิน พระเชตุพนเนื้อชิน พระร่วงนั่ง (แบบกรุทองวังสุโขทัย) พระซุ้มยอกรุบ้านตากสนิมแดงรวมอยู่ด้วยกันอันนับว่าเป็นพระกรุเก่าที่ทรงคุณ ค่าทางประวัติศาสตร์และทรงพุทธคุณเป็นเลิศทางด้านคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด  บ้างก็ว่ามีไว้จะมีคนสรรเสริญเยินยอและมหาอำนาจใช้สำหรับผู้ปกครองลูกน้องบริวารยำเกรงมีบารมี,ผู้คนเกรงอกเกรงใจ และได้แผ่นทองจารึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้อย่างมากมาย คนขุดได้นำไปจำหน่ายให้แก่ร้านทอง เป็นที่น่าเสียดายที่ประวัติศาสตร์ขาดหายไปสิ้น พระที่ขุดพบครั้งนี้พบที่อำเภอบ้านตาก ไม่ใช่อำเภอเมืองตาก (คนละอำเภอกัน)ปัจจุบัน ก็ยังคงมีชื่อเสียง เป็นที่นิยมและแสวงหากันอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง แต่จะหาดูแท้ๆยากมาก

โดย เนื้อชินเงินสวยๆสนนราคาหมื่นกลาง ส่วนเนื้อตะกั่วสนิมแดงสวยๆ สนนราคาหลักแสน สำหรับองค์นี้เอามาโชว์ครับบุกจากรังใหญ่มา เป็นพระเครื่องในตำนานซะแล้ว  สวยๆแบบนี้ด้วยยิ่งหายาก ผู้ใดมีครอบครองก็ต่างหวงแหนเป็นที่สุด

ที่มา  1. จ.ส.อ. อเนก เจกะโพธิ์

2. คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง