พระพุทธชินราช อินโดจีน สังฆาฏิสั้น หน้าเสาร์ห้า มีโค๊ด  (นิยม) ปี 2485

พระพุทธ ชินราช รุ่นอินโดจีนนี้เริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างโดย พลเรือตรี หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราว ปี พ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงคราม และให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชา ต่อมาในปีพ.ศ.2485 สงคราม โลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้ จึงได้มการจัดสร้างพระ พุทธชินราชรุ่นอินโดจีนขึ้น ในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททองให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์ แทน เนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก ไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธี จึงจำเป็นต้องเปลี่ยน สถานที่มายังวัดสุทัศน์ แทน กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินงานต่อจนเสร็จ ชนวนมวลสารที่ใช้หล่อนั้นประกอบด้วยชนวนโลหะของวัดสุทัศน์ แผ่นจารจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ รวมทั้งโลหะทองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้ หลังจากนั้นเมื่อหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำพระทั้งหมดมามอบให้กับทางพุทธสมาคมฯ เพื่อตอกโค้ด เป็นรูปธรรมจักร และรูปอกเลา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก พระส่วนใหญ่ได้ทำการตอกโค้ดจนครบ แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด เนื่องจากโค้ดชำรุดเสียก่อน และได้นำพระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดสุทัศน์ การสร้างพระเครื่องชุดนี้ยึดเอา พระพุทธลักษณะ จากองค์พระพุทธชินราชจากจังหวัดพิษณุโลก เป็นองค์ต้นแบบ มีการสร้างแบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย

1. พระบูชา สร้างด้วยวิธีการหล่อเป็นพระพุทธรูปขัดเงา มีซุ้มเรือนแก้วเหมือนพุทธชินราชองค์ปัจจุบัน การจัดสร้างในครั้งนั้นจัดสร้างตามจำนวนผู้สั่งจอง โดยผู้ที่สั่งจองจะต้องส่งเงินจำนวน 150 บาท ไปยังคณะกรรมการเพื่อเป็นทุนจัดสร้างเท่านั้น (ต่อ 1 องค์) และมีการแจกจ่ายให้กับจังหวัดทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 องค์ ทั่วประเทศ

2. พระเครื่อง แบ่งการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ แบบรูปหล่อและเหรียญ พระรูปหล่อมีพุทธ-ลักษณะเหมือนพุทธชินราชเป็นรูปลอยองค์ ประกอบด้วย พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และ พิมพ์ต้อ

3. เหรียญ สร้างด้วยวิธการปั๊ม มีลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธชินราช ประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลังของเหรียญจะเป็นรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สถานที่ จัดสร้าง พระพุทธชินราช จัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ในวันที่ 21 มีนาคม เสาร์ 5 (วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5) ปี พ.ศ. 2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากร โดยมีท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำรา การสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการ นอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่ง จึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระเกจิอาจารย์ 108 รูปที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศเลยทีเดียว พระพุทธชินราชอินโดจีน ลอยองค์ ปี2485 พิมพ์ตอกโค๊ด พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับของการสร้างพระกริ่ง-พระชัย ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่า พิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง


พระพุทธชินราช อินโดจีน สังฆาฏิสั้น หน้าเสาร์ห้า มีโค๊ด (นิยม) ปี 2485

  • Product Code: w-045
  • Availability: In Stock
  • $0.00


Tags: พระพุทธชินราช อินโดจีน สังฆาฏิสั้น หน้าเสาร์ห้า มีโค๊ด (นิยม) ปี 2485